วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555
บทความบาลี สันสกฤต
1.ภาษาบาลีมีสระ ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
2.ภาษาบาลีมีพยัญชนะ ๓๓ ตัว แบ่งตามฐานที่เกิดได้ดังนี้
ก.พยัญชนะวรรคมี ๒๕ ตัว ได้แก่
พยัญชนะวรรค/ฐาน
ตัวที่ 1
ตัวที่ 2
ตัวที่ 3
ตัวที่ 4
ตัวที่ 5
วรรคที่ 1 ฐานคอ ก ข ค ฆ ง
วรรคที่ 2 ฐานเพดาน จ ฉ ช ฌ ญ
วรรคที่ 3 ฐานปุ่มเหงือก ฎ ฐ ฑ ฒ ณ
วรรคที่ 4 ฐานฟัน ต ถ ท ธ น
วรรคที่ 5 ฐานริมฝีปาก ป ผ พ ภ ม
ข.เศษวรรคมี 8 ตัว ย ร ล ว ส ห ฬํ °
3.ภาษาบาลีไม่มี ศ ษ
4.คำทุกคำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตาม เช่น วัฑฒนา ฑ เป็นตัวสะกด ฒ เป็นตัวตาม
ตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีจะเป็นไปตามกฎดังนี้
ก.พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดได้ คือ ตัวที่ 1 3 5
ข.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 2 ตามได้
ค.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 4 ตามได้
ง.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้
ตัวอย่าง
ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม เช่น สักกะ
ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 2 ตาม เช่น ทุกข์
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 ตาม เช่น อัคคี
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 4 ตาม เช่น พยัคฆ์
ตัวที่ 5 สะกด ตามได้ทุกตัว เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ สัญญา
ข้อสังเกต คำบาลีบางคำมีตัวสะกดไม่มีตัวตาม เพราะเดิมมีตัวสะกด เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย
เราตัดตัวสะกดออก เช่น
จิต มาจาก จิตต
กิต มาจาก กิจจ
เขต มาจาก เขตต
รัฐ มาจาก รัฏฐ
วัฒน มาจาก วัฑฒน
วุฒิ มาจาก วุฑฒิ
5.คำภาษาบาลีไม่นิยมคำควบกล้ำ เช่น ปฐม (สันสกฤตใช้ ประถม) ,อินท์ (สันสกฤตใช้ อินทร์)
6.คำบางคำที่ภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ เช่น
บาลี
สันสกฤต ครุฬ ครุฑ กีฬา กรีฑา จุฬา จุฑา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น