บทความเรื่องระดับของภาษา
ความรู้เกี่ยวกับระดับภาษาช่วยให้สามารถพูดและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้องเหมาะสมกับสัมพันธภาพของบุคคล
โอกาสและกาลเทศะ เพื่อให้การสื่อสารเป็นที่เข้าใจและพอใจทั้งฝ่ายผู้ส่งสารและผู้รับสารและบังเกิดสัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมาย
การแบ่งระดับภาษา
ภาษาอาจแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ได้หลายวิธี เช่น
ก. แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
-ระดับที่เป็นทางการ ( แบบแผน )
-ระดับที่ไม่เป็นทางการ ( ไม่เป็นแผน )
ข. แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
-ระดับพิธีการ ( แบบแผน )
-ระดับกึ่งพิธีการ ( กึ่งแบบแผน )
-ระดับไม่เป็นพิธีการ ( ไม่เป็นแบบแผนหรือภาษาปาก )
ค. แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
-ระดับพิธีการ
-ระดับทางการ
-ระดับกึ่งทางการ
-ระดับไม่เป็นทางการ
-ระดับกันเอง
ภาษาอาจแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ได้หลายวิธี เช่น
ก. แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
-ระดับที่เป็นทางการ ( แบบแผน )
-ระดับที่ไม่เป็นทางการ ( ไม่เป็นแผน )
ข. แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
-ระดับพิธีการ ( แบบแผน )
-ระดับกึ่งพิธีการ ( กึ่งแบบแผน )
-ระดับไม่เป็นพิธีการ ( ไม่เป็นแบบแผนหรือภาษาปาก )
ค. แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
-ระดับพิธีการ
-ระดับทางการ
-ระดับกึ่งทางการ
-ระดับไม่เป็นทางการ
-ระดับกันเอง



1. ภาษาระดับพิธีการ
ใช้สื่อสารในที่ประชุม ซึ่งจัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวอวยพร การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดประชุม ฯลฯ ผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลสำคัญหรือมีตำแหน่งสูง ผู้รับสารส่วนมากเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือเป็นชนกลุ่มใหญ่ สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารกล่าวฝ่ายเดียว ถ้ามีการกล่าวตอบก็กระทำอย่างเป็นทางการ สารทุกตอนมีลักษณะเป็นพิธีรีตอง ใช้ถ้อยคำที่ไพเราะกลั่นกรองมาล่วงหน้าแล้ว
2. ภาษาระดับทางการ
ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในการประชุมซึ่งต่อช่วงจากตอนที่เป็นพิธีการ
หรือใช้ในการเขียนข้อความที่จะปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ในหนังสือที่ติดต่อกันทางราชการหรือในวงการธุรกิจ
ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักจะเป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่และภารกิจโดยตรงในแต่ละด้าน ในวงการหรือวงอาชีพเดียวกัน สัมพันธภาพระหว่างทั้งสองฝ่ายจึงเป็นไปในด้านธุรกิจและการงาน
การใช้ภาษาระดับนี้มุ่งให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยเร็ว โดยประหยัดการใช้ถ้อยคำและเวลาให้มากที่สุด อาจใช้ศัพท์เฉพาะมากหรือน้อยแล้วแต่ลักษณะการประชุมและผู้รับสาร ในกรณีจำเป็น ผู้ส่งสารอาจต้องใช้คำอธิบายให้มากขึ้นก็ได้
3. ภาษาระดับกึ่งทางการ
ภาษาระดับนี้คล้ายกับภาษาระดับทางการแต่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้าง มักใช้ในการประชุม
กลุ่มที่เล็กกว่าการประชุมที่ต้องใช้ภาษาระดับทางการ เช่น ในการประชุมกลุ่มย่อย การบรรยายในห้องเรียน ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ มักใช้ภาษาที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยมากกว่าภาษาในระดับทางการ และใช้ศัพท์เฉพาะเท่าที่จำเป็น
4. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ใช้ในการสนทนาระหว่างบุคคลหรือกลุ่มไม่เกิน 4 – 5 คน ในสถานที่และโอกาสที่ไม่ใช่เป็นการ
ส่วนตัว เช่น ในการเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าว การเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหาของสารอาจเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะวิชาการ ภาษาที่ใช้อาจมีถ้อยคำที่เคยใช้กันเฉพาะกลุ่ม
5. ภาษาระดับกันเอง
ใช้ในวงจำกัดที่เป็นการส่วนตัว เช่น ภายในครอบครัว เพื่อนสนิท ที่บ้านหรือห้องที่เป็นสัดส่วนโดยเอกเทศ
เนื้อหาของสารเช่นเดียวกับภาษาระดับกันเองภาษาที่ใช้มักเป็นภาษาพูดเท่านั้น ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากใช้ในนวนิยาย บทละคร หรือเรื่องสั้น อาจใช้คำสแลงหรือคำภาษาถิ่นปะปนบ้างก็ได้
ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับการแบ่งระดับภาษา
1. การแบ่งระดับภาษาไม่เป็นการตายตัว ภาษาแต่ละระดับอาจมีการเหลื่อมล้ำคาบเกี่ยวกันบ้าง เช่น ภาษาระดับทางการกับภาษาระดับกึ่งทางการ หรือภาษาระดับกึ่งทางการกับภาษาระดับไม่เป็นทางการ
หรือภาษาระดับไม่เป็นทางการกับภาษาระดับกันเอง
2. ภาษาทั้ง 5 ระดับ ไม่มีโอกาสใช้พร้อมกัน ระดับที่ใช้มาก คือ ภาษาระดับกึ่งทางการกับภาษาระดับไม่เป็นทางการ ส่วนภาษาระดับพิธีการมีโอกาสใช้น้อยและบางคนไม่นิยมใช้ภาษาระดับกันเอง
3. ภาษาบางระดับใช้แทนที่กันไม่ได้ เช่น ภาษาระดับพิธีการ,ภาษาระดับทางการ หรือภาษาระดับทางการ,ภาษาระดับกึ่งทางการจะใช้แทนภาษาระดับไม่เป็นทางการ,ภาษาระดับกันเองไม่ได้
4. การใช้ภาษาผิดระดับจะเป็นผลเสียต่อการสื่อสาร
ใช้สื่อสารในที่ประชุม ซึ่งจัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวอวยพร การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดประชุม ฯลฯ ผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลสำคัญหรือมีตำแหน่งสูง ผู้รับสารส่วนมากเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือเป็นชนกลุ่มใหญ่ สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารกล่าวฝ่ายเดียว ถ้ามีการกล่าวตอบก็กระทำอย่างเป็นทางการ สารทุกตอนมีลักษณะเป็นพิธีรีตอง ใช้ถ้อยคำที่ไพเราะกลั่นกรองมาล่วงหน้าแล้ว
2. ภาษาระดับทางการ
ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในการประชุมซึ่งต่อช่วงจากตอนที่เป็นพิธีการ
หรือใช้ในการเขียนข้อความที่จะปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ในหนังสือที่ติดต่อกันทางราชการหรือในวงการธุรกิจ
ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักจะเป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่และภารกิจโดยตรงในแต่ละด้าน ในวงการหรือวงอาชีพเดียวกัน สัมพันธภาพระหว่างทั้งสองฝ่ายจึงเป็นไปในด้านธุรกิจและการงาน
การใช้ภาษาระดับนี้มุ่งให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยเร็ว โดยประหยัดการใช้ถ้อยคำและเวลาให้มากที่สุด อาจใช้ศัพท์เฉพาะมากหรือน้อยแล้วแต่ลักษณะการประชุมและผู้รับสาร ในกรณีจำเป็น ผู้ส่งสารอาจต้องใช้คำอธิบายให้มากขึ้นก็ได้
3. ภาษาระดับกึ่งทางการ
ภาษาระดับนี้คล้ายกับภาษาระดับทางการแต่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้าง มักใช้ในการประชุม
กลุ่มที่เล็กกว่าการประชุมที่ต้องใช้ภาษาระดับทางการ เช่น ในการประชุมกลุ่มย่อย การบรรยายในห้องเรียน ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ มักใช้ภาษาที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยมากกว่าภาษาในระดับทางการ และใช้ศัพท์เฉพาะเท่าที่จำเป็น
4. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ใช้ในการสนทนาระหว่างบุคคลหรือกลุ่มไม่เกิน 4 – 5 คน ในสถานที่และโอกาสที่ไม่ใช่เป็นการ
ส่วนตัว เช่น ในการเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าว การเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหาของสารอาจเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะวิชาการ ภาษาที่ใช้อาจมีถ้อยคำที่เคยใช้กันเฉพาะกลุ่ม
5. ภาษาระดับกันเอง
ใช้ในวงจำกัดที่เป็นการส่วนตัว เช่น ภายในครอบครัว เพื่อนสนิท ที่บ้านหรือห้องที่เป็นสัดส่วนโดยเอกเทศ
เนื้อหาของสารเช่นเดียวกับภาษาระดับกันเองภาษาที่ใช้มักเป็นภาษาพูดเท่านั้น ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากใช้ในนวนิยาย บทละคร หรือเรื่องสั้น อาจใช้คำสแลงหรือคำภาษาถิ่นปะปนบ้างก็ได้
ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับการแบ่งระดับภาษา
1. การแบ่งระดับภาษาไม่เป็นการตายตัว ภาษาแต่ละระดับอาจมีการเหลื่อมล้ำคาบเกี่ยวกันบ้าง เช่น ภาษาระดับทางการกับภาษาระดับกึ่งทางการ หรือภาษาระดับกึ่งทางการกับภาษาระดับไม่เป็นทางการ
หรือภาษาระดับไม่เป็นทางการกับภาษาระดับกันเอง
2. ภาษาทั้ง 5 ระดับ ไม่มีโอกาสใช้พร้อมกัน ระดับที่ใช้มาก คือ ภาษาระดับกึ่งทางการกับภาษาระดับไม่เป็นทางการ ส่วนภาษาระดับพิธีการมีโอกาสใช้น้อยและบางคนไม่นิยมใช้ภาษาระดับกันเอง
3. ภาษาบางระดับใช้แทนที่กันไม่ได้ เช่น ภาษาระดับพิธีการ,ภาษาระดับทางการ หรือภาษาระดับทางการ,ภาษาระดับกึ่งทางการจะใช้แทนภาษาระดับไม่เป็นทางการ,ภาษาระดับกันเองไม่ได้
4. การใช้ภาษาผิดระดับจะเป็นผลเสียต่อการสื่อสาร
องค์ประกอบของการพูด
![]()
นักเรียนทราบแล้วว่า การพูดเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารที่สำคัญ
ซึ่งต้องมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับองค์ประกอบของการสื่อสาร 4
ประการ ดังนี้
1.
ผู้พูด หรือ ผู้ส่งสาร
ผู้พูดเป็นผู้ส่งสารที่ต้องรู้จักการใช้ภาษา น้ำเสียง
แสดงกิริยาท่าทาง มีการแต่งกาย ตลอดจนแสดงบุคลิกภาพให้เหมาะสมและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่สื่อสาร
ผู้พูดต้องรู้จักสังเกตใช้ความคิดพิจารณา ค้นคว้าหาความรู้
และสะสมประสบการณ์เพื่อจะได้ปรับปรุงการพูดของตนเองให้ประสบความสำเร็จ
2.
ผู้ฟัง หรือ ผู้รับสาร
ผู้ฟังคือบุคคลสำคัญของผู้พูด
เพราะการพูดที่ประสบผลสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับผู้ฟังด้วยว่าผู้ฟังเกิดการรับรู้
เข้าใจ และประทับใจในการพูดครั้งนั้นมากน้อยเพียงใด
ผู้พูดที่ดีจึงควรเตรียมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ฟังล่วงหน้าเพื่อช่วยให้การพูดดำเนินไปได้ด้วยดี
เช่น ผู้ฟังคือใคร มีความรู้และการศึกษาระดับใด
มีความสนใจเรื่องใด
3.
เนื้อหาสาระ หรือ สาร
เนื้อหาสาระคือเรื่องราวที่จะพูดให้ผู้ฟังได้รับทราบและเข้าใจ
เนื้อหาสาระที่ดีควรมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีขอบเขตของเนื้อหา
เหมาะสมแก่ผู้ฟัง โอกาสและกาลเทศะ
เป็นเรื่องที่ผู้พูดสนใจและมีประสบการณ์ในเรื่องนั้น
ตลอดจนเป็นเรื่องที่ผู้ฟังก็สนใจด้วย
4.
เครื่องมือสื่อสาร หรือ สื่อ
เครื่องมือสื่อสารเป็นวิธีการที่ผู้พูดใช้ถ่ายทอดเนื้อหาสาระหรือสารให้ผู้ฟังได้รับทราบ
ซึ่งก็คือ ภาษา ผู้พูดที่ดีจะต้องรู้จักใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน
และตรงจุดมุ่งหมายที่ต้องการสื่อสาร
|
จุดมุ่งหมายของการพูด
ในการพูดแต่ละครั้ง
ผู้พูดต้องกำหนดจุดมุ่งหมายว่าต้องการจะให้ผู้ฟังได้รับ
สิ่งใด จะพูดเรื่องอะไร เพื่ออะไร และพูดอย่างไร ทั้งยังต้องคำนึงถึงผู้ฟังด้วย การพูดที่มีความมุ่งหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวได้ตรงกับความต้องการของผู้พูด ความมุ่งหมายโดยทั่วไปของการพูด มีดังนี้
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ เป็นการพูดที่แจ้งข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยทั่วไปแล้วจะใช้กับการพูดเชิงวิชาการ
กึ่งวิชาการ หรือการเล่าเรื่องทั่วๆ ไป
เช่น การบรรยาย การปาฐกถา การอธิบาย การสาธิต การชี้แจง การกล่าวรายงาน การเล่าเรื่อง เป็นต้น
2. เพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการพูดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ฟังให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของผู้พูด
โดยให้ผู้ฟังเห็นถึงประโยชน์หรือโทษของสิ่งที่พูด และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ฟังให้กระทำหรือเลิกกระทำสิ่งนั้น เช่น
การพูดหาเสียง การโฆษณา
การพูดชักชวน การพูดร้องขอวิงวอน การพูดโต้แย้ง การพูดวิจารณ์
เป็นต้น การพูดประเภทนี้ผู้พูดต้องใช้ทั้งเหตุและผล ข้อมูลอ้างอิง หลักจิตวิทยา และวาทศิลป์ จึงจะสามารถทำให้ผู้ฟังเชื่อและเปลี่ยนพฤติกรรมได้
3. เพื่อจรรโลงใจ
เป็นการพูดสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟัง ขณะเดียวกันก็อาจเป็นการยกระดับจิตใจผู้ฟังให้สูงขึ้น
เช่น การพูดเรื่องตลกขบขัน การพูดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่ให้ความบันเทิง
การสนทนาธรรม การพูดในโอกาสต่างๆ อาทิ การกล่าวอวยพร งานวันเกิด งานมงคลสมรส เป็นต้น
4.
เพื่อค้นหาคำตอบ เป็นการพูดเพื่อขจัดข้อสงสัยของผู้พูด ในชีวิตประจำวันเรามักจะพบกับอุปสรรคหรือปัญหาต่างๆ
อยู่ตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งเราอาจจะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ จึงต้องสอบถามหรือปรึกษาจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ
เช่น การสอบถามข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
การสอบถามเส้นทาง การปรึกษาปัญหาชีวิตและสุขภาพ
เป็นต้น
นอกจากนี้ ทัศนีย์ ศุภเมธี (2526 : 35–36) ได้ให้จุดมุ่งหมายของการพูดไว้ดังนี้
1. การพูดเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด
ความเข้าใจ ผู้พูดต้องเสนอ เรื่องราวที่เป็นจริงมีรายละเอียดพอสมควร
หรือมีความคิดเห็นของผู้พูดสอดแทรกไปด้วย เพื่อให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน เช่น การบรรยายของวิทยากร การอบรมสั่งสอนของครูอาจารย์ เป็นต้น
2. การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น ผู้พูดต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ดี และสามารถแสดงเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
ให้ผู้ฟังเข้าใจถึงแนวความคิดของผู้พูดได้
เช่น การอภิปราย การโต้วาที เป็นต้น
3. การพูดเพื่อจรรโลงใจ เป็นการพูดให้ผู้ฟังเกิดความสนุกเพลิดเพลิน
นอกจากนี้การพูดประเภทนี้ยังเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถยกระดับจิตใจของผู้ฟังให้สูงขึ้นได้ด้วย
มิใช่เพียงสนุกสนานเท่านั้น สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้พูดบรรลุความมุ่งหมายได้คือ
ต้องมีกลวิธีในการเสนอเรื่องและความสามารถในการใช้ภาษา ตลอดจนแสดงท่าทางอย่างสอดคล้องกัน เช่น
การพูดเรื่องตลกในวงสนทนา การแสดงของคณะตลกต่างๆ
การพูดเรื่องที่สอนคติเตือนใจ เป็นต้น
4. การพูดเพื่อโน้มน้าวใจผู้ฟัง เป็นการพูดที่ผู้พูดต้องมีความสามารถและระมัดระวังเป็นพิเศษว่าจะพูดอย่างไร จึงจะทำให้ผู้ฟังเกิดการยอมรับความคิดและการกระทำของผู้พูด
การพูดแบบนี้ผู้พูดต้องสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้ฟังและต้องพูดให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม บางทีอาจเปลี่ยนความคิด
ความเชื่อ หรือพฤติกรรมที่มีอยู่เดิมของ
ผู้ฟังได้ด้วย
อวยชัย ผกามาศ ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของการพูดไว้ว่า การพูดแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นการพูดเดี่ยวหรือพูดเป็นกลุ่มย่อมมีความมุ่งหมายแตกต่างกันออกไปตามกาลเทศะและบุคคล สามารถประมวลได้ดังนี้
1. พูดเพื่อบอกเล่าข้อเท็จจริง ข้อนี้มุ่งให้ผู้ฟังได้รับความรู้สาระจากเรื่องที่พูดให้มากที่สุด
ดังนั้นผู้พูดต้องมีการเตรียมตัวมาดีพอสมควรใช้สำนวนภาษาที่น่าสนใจเหมาะสมกับผู้ฟัง
เช่น การกล่าวรายงาน การกล่าวปราศรัย การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การอธิบาย เป็นต้น
2. พูดเพื่อความบันเทิง ข้อนี้มุ่งให้ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินเป็นสำคัญ พูดให้ตรงเป้าหมาย
อย่าเยิ่นเย้อหรือเนิ่นนานจนเกินไป ใช้สีหน้ากิริยา ท่าทาง เสียง และสำนวนภาษาที่สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง
เช่น การเล่าเรื่องในประเภทต่างๆ
3. พูดเพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจ ข้อนี้มุ่งให้ผู้ฟังมีเจตคติที่ดี เปลี่ยนแนวคิดเดิมหรือความคิดเก่าๆ
และปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะในที่สุดเพราะผู้ฟังมีความรู้สึกว่าตนเองได้รับประโยชน์
ผู้พูดต้องใช้ศิลปะการพูดและลีลาการพูด น้ำเสียงกิริยาอาการต่างๆ
เพื่อประกอบการพูดจนผู้ฟังคล้อยตามได้ เช่น การพูดเชิญชวนบริจาคทรัพย์เพื่อสาธารณประโยชน์
เป็นต้น
ประเภทของการพูด
การพูดอาจแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ
ได้หลายแบบด้วยกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงการพูดเพียง2 แบบ คือ
• แบบที่ 1 แบ่งตามวิธีพูดมี 4 ประเภท คือ
1) การพูดโดยฉับพลันหรือกะทันหัน (Thelmpromptuspeech)ได้แก่การพูดที่ผู้พูดไม่รู้ตัวมาก่อนจะต้องพูดไม่ได้มีการเตรียมตัวล่วงหน้าทั้งในด้านเนื้อเรื่องที่จะพูด แต่ก็ได้รับเชิญหรือได้รับมอบหมายให้พูด เช่น การพูดกล่าวอวยพรในวันเกิด กล่าวอวยพรคู่บ่าวสาว กล่าวต้อนรับผู้มาเยือน กล่าวขอบคุณผู้มีอุปการะสนับสนุน การพูดกะทันหันนี้ หากผู้พูดได้รับเชิญในลักษณะดังกล่าวข้อที่ควรปฏิบัติเพื่อให้การพูดประสบความสำเร็จ ก็ควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
- ต้องคุมสติให้มั่น อย่าประหม่าหรือตกใจตื่นเต้นจนเกินไป ทำจิตใจให้ปกติและสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเองด้วยการสร้างความพึงพอใจและ ความยินดีที่จะได้พูดในโอกาสเช่นนั้น
- ให้นึกถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่เรียนรู้หรือได้พบเห็นมา ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์แก่ผู้ฟังและเป็นเรื่องราวที่เข้ากับ บรรยากาศที่จะพูดแม้ว่าขณะนั้นจะมีเวลาโอกาสสั้นๆ ก่อนจะพูดก็ควรนึกคิดรวมทั้งขณะที่เดินจากที่นั่งไปยังที่จะพูด
- กำหนดเรื่องที่จะพูดให้ชัดเจน กำหนดเวลาพูดให้เหมาะสมกับโอกาสและงานนั้นๆอย่าพูดไปโดยไม่มีการกำหนดหัว เรื่องและกำหนดเวลาไว้เพราะจะมีผลให้การพูดไม่ดี คนฟังก็เบื่อหน่าย
• แบบที่ 1 แบ่งตามวิธีพูดมี 4 ประเภท คือ
1) การพูดโดยฉับพลันหรือกะทันหัน (Thelmpromptuspeech)ได้แก่การพูดที่ผู้พูดไม่รู้ตัวมาก่อนจะต้องพูดไม่ได้มีการเตรียมตัวล่วงหน้าทั้งในด้านเนื้อเรื่องที่จะพูด แต่ก็ได้รับเชิญหรือได้รับมอบหมายให้พูด เช่น การพูดกล่าวอวยพรในวันเกิด กล่าวอวยพรคู่บ่าวสาว กล่าวต้อนรับผู้มาเยือน กล่าวขอบคุณผู้มีอุปการะสนับสนุน การพูดกะทันหันนี้ หากผู้พูดได้รับเชิญในลักษณะดังกล่าวข้อที่ควรปฏิบัติเพื่อให้การพูดประสบความสำเร็จ ก็ควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
- ต้องคุมสติให้มั่น อย่าประหม่าหรือตกใจตื่นเต้นจนเกินไป ทำจิตใจให้ปกติและสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเองด้วยการสร้างความพึงพอใจและ ความยินดีที่จะได้พูดในโอกาสเช่นนั้น
- ให้นึกถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่เรียนรู้หรือได้พบเห็นมา ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์แก่ผู้ฟังและเป็นเรื่องราวที่เข้ากับ บรรยากาศที่จะพูดแม้ว่าขณะนั้นจะมีเวลาโอกาสสั้นๆ ก่อนจะพูดก็ควรนึกคิดรวมทั้งขณะที่เดินจากที่นั่งไปยังที่จะพูด
- กำหนดเรื่องที่จะพูดให้ชัดเจน กำหนดเวลาพูดให้เหมาะสมกับโอกาสและงานนั้นๆอย่าพูดไปโดยไม่มีการกำหนดหัว เรื่องและกำหนดเวลาไว้เพราะจะมีผลให้การพูดไม่ดี คนฟังก็เบื่อหน่าย
2) การพูดโดยการเตรียมการมาล่วงหน้า (The Extemperamous) การพูดแบบนี้เป็นการพูด
ที่ผู้พูดได้มีโอกาสเตรียมตัวมาก่อนคือ
ผู้พูดรู้ว่าตนเองได้รับเชิญหรือจะต้องพูดในเรื่องอะไรบ้าง
จึงต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเท่าที่โอกาสเวลาจะอำนวยให้
ดังนั้นการเตรียมในเรื่องต่างๆ
ที่จะพูดเป็นคุณสมบัติสำคัญที่นักพูดจะต้องปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอ
3) การพูดโดยอาศัยอ่านจากต้นฉบับ (Thespeakingfrommanuscripts) การพูดประเภทนี้เป็นการพูดตามต้นฉบับที่เขียนขึ้นซึ่งเป็นการเตรียมไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี
ส่วนมากเป็นการพูดทางพิธีการต่าง ๆ สำคัญๆ เช่น การกล่าวเปิดงานการกล่าวรายงาน
การกล่าวเปิดประชุม การกล่าวรายงานการประชุม การกล่าวคำปราศรัย
การกล่าวคำสดุดีการกล่าวคำให้โอวาท การกล่าวต้อนรับที่เป็นพิธีการสำคัญๆ ฯลฯ
การพูดประเภทนี้ผู้พูดจะต้องฝึกฝนตนในเรื่องการอ่านต้นฉบับให้คล่อง การฝึกสายตาเวลาพูดการฝึกอ่านย่อหน้าวรรคตอนและคำศัพท์ที่ยากตลอดทั้งสำนวนการพูดให้เหมาะสม
การพูดประเภทนี้ผู้พูดจะต้องฝึกฝนตนในเรื่องการอ่านต้นฉบับให้คล่อง การฝึกสายตาเวลาพูดการฝึกอ่านย่อหน้าวรรคตอนและคำศัพท์ที่ยากตลอดทั้งสำนวนการพูดให้เหมาะสม
4) การพูดโดยวิธีท่องจำ (The memorized speaking) การพูดลักษณะนี้เป็นการพูด
ที่ผู้พูดจะต้องเตรียมตัวท่องจำเนื้อหาอย่างละเอียดจากเอกสาร ตำรา หนังสือต่างๆ
อย่างแม่นยำ เช่น การท่องจำตัวเลข จำสุภาษิตคำพังเพย เนื้อหาที่สำคัญๆ
การพูดแบบนี้เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องใช้ความเพียรพยายามมากในการจดจำเนื้อหา
และจะต้องมีเวลาในการเตรียมตัว เช่น การเทศน์ของพระสงฆ์
การสวดอ้อนวอนบวงสรวงพิธีกรรมของพราหมณ์ การทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์
และการทำพิธีกรรมของศาสนาต่างๆ เป็นต้น
• แบบที่ 2 แบ่งตามจำนวนผู้ฟัง มี 2 ประเภท คือ
1) การพูดรายบุคคล เป็นการพูดตัวต่อตัว ได้แก่ การพูดที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การสนทนา การสัมภาษณ์ การเล่าเรื่อง การแนะนำตัว เป็นต้น
2) การพูดในที่ชุมนุมชน เป็นการพูดที่มีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก เป็นการพูดที่มีแบบแผนต้องมีการเตรียมตัว และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ การพูดประเภทนี้ได้แก่ การบรรยาย การอภิปราย การปาฐกถา การแสดงสุนทรพจน์ เป็นต้น
• แบบที่ 2 แบ่งตามจำนวนผู้ฟัง มี 2 ประเภท คือ
1) การพูดรายบุคคล เป็นการพูดตัวต่อตัว ได้แก่ การพูดที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การสนทนา การสัมภาษณ์ การเล่าเรื่อง การแนะนำตัว เป็นต้น
2) การพูดในที่ชุมนุมชน เป็นการพูดที่มีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก เป็นการพูดที่มีแบบแผนต้องมีการเตรียมตัว และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ การพูดประเภทนี้ได้แก่ การบรรยาย การอภิปราย การปาฐกถา การแสดงสุนทรพจน์ เป็นต้น
บทความเรื่องคำนาม
คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อ
คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
คำนาม แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
สามายนาม หรือ คำนามไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อทั่วๆไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น พ่อ บ้าน ปู รถ ทหาร
ถนน ลม
วิสามยนาม หรือ คำนามชี้เฉพาะเจาะจง เป็นคำเรียกชื่อที่เจาะจงว่าเป็นคนใด สิ่งใด สถานที่ใด เช่น ด.ช.ทัศนา จ.จันทบุรี น้ำตกไทรโยก โรงเรียนอัจริยะวิทย์
สมุหนาม หรือ คำนามบอกหมวดหมู่ เป็นคำที่ใช้เติมหน้านามเพื่อบอกหมวดหมู่ของคำนาม เช่น โขลงช้าง ฝูงนก
กองหนังสือ คณะลูกเสือ
อาการนาม หรือ คำนามบอกอาการ เป็นคำนามที่สร้างจากคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ โดยเติมคำว่า ความ หรือ การ
ข้างหน้า เช่น ความรัก ความร้อน ความดี การพูด การเล่น การอ่าน
บทความบาลี สันสกฤต
1.ภาษาบาลีมีสระ ๘ ตัว คือ
อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
2.ภาษาบาลีมีพยัญชนะ ๓๓ ตัว
แบ่งตามฐานที่เกิดได้ดังนี้
ก.พยัญชนะวรรคมี ๒๕ ตัว ได้แก่
พยัญชนะวรรค/ฐาน
ตัวที่ 1
ตัวที่ 2
ตัวที่ 3
ตัวที่ 4
ตัวที่ 5
วรรคที่ 1 ฐานคอ ก ข ค ฆ ง
วรรคที่ 2 ฐานเพดาน จ ฉ ช ฌ ญ
วรรคที่ 3 ฐานปุ่มเหงือก ฎ ฐ ฑ ฒ ณ
วรรคที่ 4 ฐานฟัน ต ถ ท ธ น
วรรคที่ 5 ฐานริมฝีปาก ป ผ พ ภ ม
พยัญชนะวรรค/ฐาน
ตัวที่ 1
ตัวที่ 2
ตัวที่ 3
ตัวที่ 4
ตัวที่ 5
วรรคที่ 1 ฐานคอ ก ข ค ฆ ง
วรรคที่ 2 ฐานเพดาน จ ฉ ช ฌ ญ
วรรคที่ 3 ฐานปุ่มเหงือก ฎ ฐ ฑ ฒ ณ
วรรคที่ 4 ฐานฟัน ต ถ ท ธ น
วรรคที่ 5 ฐานริมฝีปาก ป ผ พ ภ ม
ข.เศษวรรคมี 8 ตัว ย ร ล ว ส ห ฬํ °
3.ภาษาบาลีไม่มี ศ ษ
4.คำทุกคำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตาม
เช่น วัฑฒนา ฑ เป็นตัวสะกด ฒ เป็นตัวตาม
ตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีจะเป็นไปตามกฎดังนี้
ก.พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดได้ คือ ตัวที่ 1 3 5
ข.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 2 ตามได้
ค.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 4 ตามได้
ง.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้
ก.พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดได้ คือ ตัวที่ 1 3 5
ข.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 2 ตามได้
ค.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 4 ตามได้
ง.ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้
ตัวอย่าง
ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม เช่น สักกะ
ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 2 ตาม เช่น ทุกข์
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 ตาม เช่น อัคคี
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 4 ตาม เช่น พยัคฆ์
ตัวที่ 5 สะกด ตามได้ทุกตัว เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ สัญญา
ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 2 ตาม เช่น ทุกข์
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 ตาม เช่น อัคคี
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 4 ตาม เช่น พยัคฆ์
ตัวที่ 5 สะกด ตามได้ทุกตัว เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ สัญญา
ข้อสังเกต
คำบาลีบางคำมีตัวสะกดไม่มีตัวตาม เพราะเดิมมีตัวสะกด เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย
เราตัดตัวสะกดออก เช่น
เราตัดตัวสะกดออก เช่น
จิต มาจาก จิตต
กิต มาจาก กิจจ
เขต มาจาก เขตต
รัฐ มาจาก รัฏฐ
วัฒน มาจาก วัฑฒน
วุฒิ มาจาก วุฑฒิ
กิต มาจาก กิจจ
เขต มาจาก เขตต
รัฐ มาจาก รัฏฐ
วัฒน มาจาก วัฑฒน
วุฒิ มาจาก วุฑฒิ
5.คำภาษาบาลีไม่นิยมคำควบกล้ำ เช่น ปฐม (สันสกฤตใช้ ประถม) ,อินท์ (สันสกฤตใช้ อินทร์)
6.คำบางคำที่ภาษาบาลีใช้ ฬ
ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ เช่น
บาลี
สันสกฤต ครุฬ ครุฑ กีฬา กรีฑา จุฬา จุฑา
สันสกฤต ครุฬ ครุฑ กีฬา กรีฑา จุฬา จุฑา
บทความภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของคนไทยมาแล้วช้านาน
ถึงแม้คนไทยจะถูกชาติอื่นรุกราน ต้องถอยร่นลงมาทางใต้ จนถึงที่อยู่ปัจจุบัน
แต่คนไทยก็ยังรักษาภาษาของตนไว้ได้ หลักฐานแสดงว่าภาษาไทยเป็นภาษาของ
คนไทยโดยเฉพาะ ก็คือ ภาษาไทย มีลักษณะพิเศษไม่ซ้ำแบบของภาษาใดในโลก
ที่มีผู้กล่าวว่า ภาษาไทยเป็นตระกูลเดียวกับภาษาจีน เนื่องจากเป็นภาษาคำโดดด้วยกัน
และมีคำพ้องเสียงและความหมายเหมือนกันอยู่หลายคำ เช่น ขา โต๊ะ เก้าอี้ เข่ง หรือ
จำนวนเลข การที่ภาษาไทยกับภาษาจีนมีลักษณะตรงกันบางประการดังกล่าว
ใช่ว่าภาษาไทยมาจากจีนหรือจีนมาจากไทย
แต่คงเป็นเพราะชาติไทยกับจีนเคยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดช้านาน
และคงเคยใช้อักษรจีนเขียนภาษาไทย ภาษาไทยกับจีนจึงมีส่วนคล้ายคลึงกันได้
ข้อสังเกตที่ว่า ภาษาไทยกับจีนเป็นคนละภาษาต่างหาก จากกันก็คือ
ระเบียบการเข้าประโยคต่างกัน เช่น คำวิเศษณ์ในภาษาไทยส่วนใหญ่
อยู่หลังคำที่ประกอบหรือขยาย ส่วนภาษาจีน ส่วนใหญ่อยู่ข้างหน้า
เมื่อไทยอพยพลงมาอยู่ในแหลมทอง ต้องเกี่ยวข้องกับชนเจ้าของถิ่นหลายชาติหลายภาษา เช่น ขอม มอญ ละว้า พม่า มลายู ต่อมาได้ติดต่อกับประเทศอื่นๆ ทางการค้าขาย ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น อินเดีย (บาลี สันสกฤต) ชวา เปอร์เซีย โปรตุเกส อังกฤษ เป็นต้น
ภาษาของชาติต่างๆดังกล่าว จึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นอันมาก ภาษาต่างชาติที่ประสมอยู่ในภาษาไทยมากที่สุด คือ บาลีและสันสกฤต เรารับภาษาบาลีเข้ามาทางพุทธศาสนา และรับภาษาสันสกฤตทางศาสนาพราหมณ์ ภาษาอื่นที่เจืออยู่ในภาษาไทยมากรองลงมา คือ ภาษาขอม (เขมร) ทั้งนี้ เพราะขอมหรือเขมร เคยเป็นชาติที่มีอำนาจมากและนานที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน
ลักษณะของภาษาไทย
วิวัฒนาการของภาษาไทย
ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเป็น ๒ สมัย คือ ภาษาไทยแท้ หรือภาษาไทยดั้งเดิม และภาษาไทยปัจจุบันหรือภาษาไทยประสม ภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยดั้งเดิม เป็นภาษาไทยก่อน อพยพเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ หรือ แหลมทอง
ภาษาไทยปัจจุบัน หรือ ภาษาไทยประสม คือ ภาษาไทยนับตั้งแต่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสุวรรณภูมิแล้ว
เมื่อไทยอพยพลงมาอยู่ในแหลมทอง ต้องเกี่ยวข้องกับชนเจ้าของถิ่นหลายชาติหลายภาษา เช่น ขอม มอญ ละว้า พม่า มลายู ต่อมาได้ติดต่อกับประเทศอื่นๆ ทางการค้าขาย ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น อินเดีย (บาลี สันสกฤต) ชวา เปอร์เซีย โปรตุเกส อังกฤษ เป็นต้น
ภาษาของชาติต่างๆดังกล่าว จึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นอันมาก ภาษาต่างชาติที่ประสมอยู่ในภาษาไทยมากที่สุด คือ บาลีและสันสกฤต เรารับภาษาบาลีเข้ามาทางพุทธศาสนา และรับภาษาสันสกฤตทางศาสนาพราหมณ์ ภาษาอื่นที่เจืออยู่ในภาษาไทยมากรองลงมา คือ ภาษาขอม (เขมร) ทั้งนี้ เพราะขอมหรือเขมร เคยเป็นชาติที่มีอำนาจมากและนานที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน
ลักษณะของภาษาไทย
วิวัฒนาการของภาษาไทย
ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเป็น ๒ สมัย คือ ภาษาไทยแท้ หรือภาษาไทยดั้งเดิม และภาษาไทยปัจจุบันหรือภาษาไทยประสม ภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยดั้งเดิม เป็นภาษาไทยก่อน อพยพเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ หรือ แหลมทอง
ภาษาไทยปัจจุบัน หรือ ภาษาไทยประสม คือ ภาษาไทยนับตั้งแต่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสุวรรณภูมิแล้ว
ลักษณะภาษาไทยแท้
ภาษาไทยแท้เป็นภาษาดั้งเดิมประจำชาติไทย นับถอยหลังตั้งแต่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีน ปัจจุบันขึ้นไปเป็นภาษาในระยะที่ยังไม่ได้ เกี่ยวข้องกับชาติอื่นมากนัก ภาษาไทยมีลักษณะดังนี้
ภาษาไทยแท้เป็นภาษาดั้งเดิมประจำชาติไทย นับถอยหลังตั้งแต่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีน ปัจจุบันขึ้นไปเป็นภาษาในระยะที่ยังไม่ได้ เกี่ยวข้องกับชาติอื่นมากนัก ภาษาไทยมีลักษณะดังนี้
1.
คำส่วนมากเป็นคำโดด คือ คำพยางค์เดียว เช่น พ่อ
แม่ มือ แขน ช้าง ม้า ฯลฯ
2.
ไม่ค่อยมีคำควบกล้ำ
3.
คำขยาย อยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น บ้านใหญ่ พูดมาก ดียิ่ง คำที่เขียนตัวหนาเป็นคำขยาย
4.
ถ้าต้องการ สร้าง คำใหม่
ใช้วิธีรวมคำมูลเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดคำประสมขึ้น เช่น โรงเรียน แม่น้ำ พ่อตา
5.
ในการเขียน ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราแม่ กก ใช้ ก
สะกด แม่ กน ใช้ น สะกด แม่ กบ ใช้ บ สะกด เช่น นก กิน กบ
6.
ในการเขียน ไม่ใช้ตัวการันต์
คำทุกคำอ่านออกเสียงได้หมดทุกพยางค์
7.
ไม่มีหลักไวยกรณ์ คือ
ระเบียบของภาษาแน่นอนเหมือนภาษาของบางชาติ เช่น บาลี สันสกฤต และอังกฤษ เป็นต้น
กล่าวคือ ไม่มีระเบียบพิเศษเกี่ยวกับ พจน์ เพศ วิภัตติ ปัจจัย อุปสรรค กาล มาลา
วาจก
8.
เป็นภาษามีเสียงดนตรี
นิยมใช้ไม้วรรณยุกต์กำกับเสียง
ลักษณะภาษาไทยปัจจุบัน
เป็นภาษาไทยเริ่มตั้งแต่คนไทยย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่ในแหลมทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งประเทศไทยทุกวันนี้ เมื่อไทยเข้ามาอยู่ในดินแดนแถบนี้ได้เกี่ยวข้องกับชนหลายชาติหลายภาษา ซึ่งมีระเบียบภาษาแตกต่างไปจากไทย ภาษาของต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือภาษาไทยปัจจุบัน คือ บาลี สันสกฤต เขมร ชวา มอญ จีน พม่า มลายู เปอร์เซีย และภาษาของชาติยุโรปบางภาษา เช่น โปรตุเกส และอังกฤษ เป็นต้น เมื่อภาษาไทยต้องเกี่ยวข้องกับภาษาของต่างชาติดังกล่าว ประกอบกับสถานะทางภูมิศาสตร์และเหตุการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ภาษาไทยปัจจุบันจึงมีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากคือ มีลักษณะพิเศษเพิ่มขึ้นจากภาษาไทยแท้ดังนี้
เป็นภาษาไทยเริ่มตั้งแต่คนไทยย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่ในแหลมทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งประเทศไทยทุกวันนี้ เมื่อไทยเข้ามาอยู่ในดินแดนแถบนี้ได้เกี่ยวข้องกับชนหลายชาติหลายภาษา ซึ่งมีระเบียบภาษาแตกต่างไปจากไทย ภาษาของต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือภาษาไทยปัจจุบัน คือ บาลี สันสกฤต เขมร ชวา มอญ จีน พม่า มลายู เปอร์เซีย และภาษาของชาติยุโรปบางภาษา เช่น โปรตุเกส และอังกฤษ เป็นต้น เมื่อภาษาไทยต้องเกี่ยวข้องกับภาษาของต่างชาติดังกล่าว ประกอบกับสถานะทางภูมิศาสตร์และเหตุการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ภาษาไทยปัจจุบันจึงมีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากคือ มีลักษณะพิเศษเพิ่มขึ้นจากภาษาไทยแท้ดังนี้
1.
มีคำหลายพยางค์เพิ่มขึ้น
2.
มีคำควบกล้ำมากขึ้น
3.
มีการสร้างคำใหม่ตามวิธีการสมาส
และสนธิของภาษาบาลีและสันสกฤต และตามวิธีแผลงคำตามอย่างภาษาเขมร
4.
ใช้ตัวสะกดไม่ค่อยตรงตามมาตรา ตามอย่างภาษาอื่น
เช่น แม่ กก ใช้ ข ค ฆ สะกด แม่ กน ใช้ ญ ณ ร ล ฬ สะกด แม่ กด ใช้ จ ช ฎ ฏ ฐ
ฒ ต ถ ท ธ สะกดเพิ่มขึ้น
5.
มีตัวการัตน์เพิ่มขึ้น
ลักษณะเด่นของภาษาไทย
ภาษาไทยไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยปัจจุบัน มีลักษณะเด่นผิดแผกจากลักษณะของภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ดังนี้
ภาษาไทยไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยปัจจุบัน มีลักษณะเด่นผิดแผกจากลักษณะของภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ดังนี้
1.
ภาษาไทยประกอบด้วยคำโดด มากกว่าภาษาบาลี สันสกฤต
หรือ อังกฤษ เช่น
คำไทย
|
บาลี
|
อังกฤษ
|
พ่อ
|
ปิตุ
|
father
|
น้ำ
|
อุทก
|
water
|
ฟ้า
|
นภา
|
sky
|
2.
ไม่มีหลักไวยกรณ์ เช่นเกี่ยวกับ ปัจจัย
อุปสรรค กาล เพศ พจน์ ฯลฯ แน่นอนอย่างภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ
คำไทยแท้ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำโดยการลงปัจจัย เพื่อแสดงชนิดของคำ กาล เพศ พจน์ ฯลฯ
ถ้าต้องการบอกชนิดของคำ ใช้คำมาเพิ่มข้างหน้า ถ้าต้อการบอก กาล เพศ พจน์
ใช้คำมาต่อข้างหน้าหรือข้างหลัง โดยไม่เปลี่ยนรูปคำเดิม เช่น
เดิน
|
กริยา
|
การเดิน
|
นาม
|
ดี
|
วิเศษณ์
|
ความดี
|
"
|
กินอยู่
|
กาลสามัญปัจจุบัน
|
กินแล้ว
|
อดีตกาลสมบูรณ์
|
ช้างพลาย
|
เพศชาย
|
ช้างพัง
|
เพศหญิง
|
เด็กคนเดียว
|
เอกพจน์
|
เด็กหลายคน
|
พหูพจน์
|
3.
คำบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ มีการเปลี่ยนรูปคำในตัวเพื่อแสดงหน้าที่กาล เพศ พจน์ ของคำ เช่น
คำบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ มีการเปลี่ยนรูปคำในตัวเพื่อแสดงหน้าที่กาล เพศ พจน์ ของคำ เช่น
กร
|
(ทำ) กริยา
|
การก
|
(ผู้ทำ) นามนาม
|
รม
|
(ยินดี) กริยา
|
รมณีย
|
(น่ายินดี) คุณนาม
|
กุมาโร
|
(เด็กชายคนเดียว)
|
กุมารา
|
(เด็กชายหลายคน)
|
กุมาโร
|
(เด็กชาย)
|
กุมารี
|
(เด็กหญิง)
|
คจฉติ
|
(ย่อมไป)
|
คโต
|
(ไปแล้ว)
|
die
|
(ตาย) กริยา
|
death
|
(ความตาย) นาม
|
man
|
(คนผู้ชายคนเดียว)
|
men
|
(คนผู้ชายหลายคน)
|
prince
|
(เจ้าชาย)
|
princess
|
(เจ้าหญิง)
|
work
|
(ทำงาน)
|
worked
|
(ได้ทำงาน)
|
4.
ภาษาไทยเป็นภาษาเสียงดนตรี คือ
เมื่อเสียงของคำสูงต่ำผิดไป ความหมายย่อมเปลี่ยนไปด้วย
จึงจำต้องใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับคำไว้
คา ข่า ข้า ค้า ขา มีความหมายแตกต่างกันแต่ละคำ
ส่วนภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ไม่ใช่ภาษาเสียงดนตรี เมื่อเสียงคำเพี้ยนไปความหมายก็ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น
เต (เขาทั้งหลาย) ถึงแม้จะออกเสียงเป็น เต่ เต้ เต๊ เต๋ หรือ car (รถยนต์) ออกเสียงเป็น คา ข่า ข้า ค้า ขา ก็คงมีความหมายเช่นเดิม
คา ข่า ข้า ค้า ขา มีความหมายแตกต่างกันแต่ละคำ
ส่วนภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ไม่ใช่ภาษาเสียงดนตรี เมื่อเสียงคำเพี้ยนไปความหมายก็ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น
เต (เขาทั้งหลาย) ถึงแม้จะออกเสียงเป็น เต่ เต้ เต๊ เต๋ หรือ car (รถยนต์) ออกเสียงเป็น คา ข่า ข้า ค้า ขา ก็คงมีความหมายเช่นเดิม
5.
คำขยายในภาษาไทย
ส่วนมากอยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น คนดี วิ่งเร็ว สูงมาก ส่วนคำภาษาอื่น เช่น บาลี
สันสกฤต อังกฤษ หรือแม้แต่ภาษาจีน ซึ่งมีลักษณะคล้ายภาษาไทย
ส่วนมากคำขยายอยู่ข้างหน้าตำที่มันขยาย
บทความลักษณะคำไทยแท้
๑.คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว ไม่ว่าจะเป็นคำนาม สรรพนาม วิเศษณ์ บุพบท สันธาน อุทาน ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าภาษาคำโดด เช่น ลุง ป้า น้า อา กา ไก่ ฯลฯ
มีคำไทยแท้หลายคำที่มีหลายพยางค์ เช่น มะม่วง สะใภ้ ตะวัน กระโดด มะพร้าว
ทั้งนี้เพราะสาเหตุที่เกิดจาก
๑.๑
การกร่อนเสียง คำ ๒ พยางค์เมื่อพูดเร็วๆ เข้า คำแรกจะกร่อนลง เช่น
มะม่วง
- หมากม่วง
ตะคร้อ
– ต้นคร้อ
สะดือ
- สายดือ
มะตูม
- หมากตูม
๑.๒
การแทรกเสียง คือคำ ๒ พยางค์เรียงกันแล้วมีเสียงแทรกตรงกลาง เช่น
ลูกกระดุม
- ลูกดุม
ผักกระถิน
- ผักถิน
นกกระจอก
- นกจอก
ลูกกระเดือก
- ลูกเดือก
๑.๓
การเติมพยางค์หน้าคำมูลโดยเติมคำให้มีความหมายใกล้เคียงกัน
เช่น
จุ๋มจิ๋ม
- กระจุ๋มกระจิ๋ม
เดี๋ยว
- ประเดี๋ยว
ท้วง
- ประท้วง
ทำ
- กระทำ
๒. คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ ไม่นิยมคำควบกล้ำแต่มีเสียงควบกล้ำอยู่บ้างเป็นการควบกล้ำด้วย ร,ล,ว และมีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น เชย สาว จิก กัด ฯลฯ
๓. คำไทยแท้มีวรรณยุกต์ทั้งมีรูปและไม่มีรูป เพื่อแสดงความหมาย เช่น ฉันอ่านข่าวเรื่องข้าว
๔. การเรียงคำในภาษาไทยสับที่กันทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น
ใจน้อย - น้อยใจ
กลัวไม่จริง - จริงไม่กลัว
๕. คำไทยจะใช้รูป “ไอ” กับ “ใอ” จะไม่ใช้รูป “อัย” เลย และจะไม่พบพยัญชนะต่อไปนี้ ฆ ณ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬ ยกเว้นคำบางคำที่เป็นคำไทย คือ ฆ่า
เฆี่ยน ศึก ศอก เศิก เศร้า ธ ณ ฯพณฯ ใหญ่ หญ้า เป็นต้น
คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด มาตราตัวสะกดมี 8 มาตรา คำไทยจะสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดและไม่มีการันต์ เช่น
มาตราแม่กก
ใช้ ก สะกด เช่น มาก จาก นก จิก รัก
มาตราแม่กด
ใช้ ด สะกด เช่น กัด ตัด ลด ปิด พูด
มาตราแม่กบ
ใช้ บ สะกด เช่น จับ จบ รับ พบ ลอบ
มาตราแม่กน
ใช้ น สะกด เช่น ขึ้น อ้วน รุ่น นอน กิน
มาตราแม่กง
ใช้ ง สะกด เช่น ลง ล่าง อ่าง จง พุ่ง แรง
มาตราแม่กม
ใช้ ม สะกด เช่น ลาม ริม เรียม ซ้อม ยอม
มาตราแม่เกย
ใช้ ย สะกด เช่น ยาย โรย เลย รวย เฉย
มาตราแม่เกอว
ใช้ ว สะกด เช่น ดาว เคียว ข้าว เรียว เร็ว
คำที่มีมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
จะเป็นคำที่เป็นภาษาอื่นที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย
ถ้าถูกใจอย่าลืมโหวตให้ด้วยนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น